วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเลือกเซลล์

หน้าหลัก
การแก้ไขชีท

การเลือกเซลล์คือ การกำหนดว่าเซลล์ใดบ้างที่เราต้องการแก้ไขหรือตกแต่ง
การแดรกเมาส์เลือกเซลล์ที่อยู่ติดกัน
  1. เลื่อนเมาส์ไปยังเซลล์แรกที่ต้องการเลือก
  2. แดรกเมาส์ (กดปุ่มเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ แล้วลามเมาส์ไปยังจุดที่ต้องการจากนั้นจึงปล่อยปุ่มเมาส์) ไปยังเซลล์สุดท้ายที่ต้องการเลือก
  3. จะทำให้เกิดแถบสีเลือกเซลล์เป็นบริเวณสี่เหลี่ยม แถบนี้เป็นสัญลักษณ์ว่าเซลล์เหล่านี้ได้ถูเลือกแล้ว
การเลือกเซลล์โดยไม่ต้องแดรกเมาส์
  1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการเลือก
  2. หากว่าเซลล์เป้าหมายอยู่คนละหน้ากับเซลล์แรกให้แดรกเมาส์ที่แถบเลื่อนเพื่อเลื่อนไปยังตำแหน่งเซลล์นั้น เลื่อนไปจนพบับเซลล์ที่ต้องการ
  3. กดปุ่ม ค้างไว้แล้วคลิกเซลล์เป้าหมาย
  4. จะทำให้เกิดแถบสีแสดงการเลือพาดผ่านตั้งแต่เซลล์แรกจนถึงเซลล์เป้าหมาย
การเลือกเซลล์ที่ไม่อยู่ติดกัน
  1. เลือกเซลล์ทิ้งไว้ก่อน
  2. กดปุ่ม ค้างไว้ แล้วแดรกเมาส์
  3. คุณจะสามารถเลือกบริเวณอื่น ๆ เพิ่มได้อีกอย่างอิสระ โดยที่แถบดำเดิมไม่หาย
การเลือกคอลัมน์และแถว
เลือกแถวโดยใช้หัวแถวและเลือกคอลัมน์โดยใช้หัวคอลัมน์
ทำได้ง่ายดังนี้ คลิกเลือกหัวคอลัมน์เพื่อเลือกคอลัมน์ คลิกเลือกหัวแถวเพื่อเลือกแถว

เลือกหลายแถวหรือหลายคอลัมน์
เลื่อนเมาส์ไปยังหัวแถวของแถวแรกที่ต้องการเลือกแล้วทำการแดรกเมาส์เลือกหัวแถว จะได้ผลลัพธ์เป็นการเลือกหลาย ๆ แถวตามต้องการ การเลือกคอลัมน์ก็ทำแบบเดียวกัน

การเลือกทั้งชีท
คลิกที่เซลล์แรกเพื่อเลือกทั้งชีท จะเกิดการเลือกทั้งชีท นอกจากนี้ยังสามารถทดปุ่ม เพื่อทำการเลือกทั้งชีท

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไขชีท (Worksheet)

หน้าหลัก

ชีท คือ พื้นที่ทำงานที่เราจะกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป

การเลือกเซลล์
การยกเลิกการเลือก
การล้างข้อมูลในเซลล์ที่เลือกไว้
แถวและคอลัมน์
การก๊อปปี้และย้ายข้อมูล

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สร้างโปรแกรมคำณวนวันลาพักร้อนด้วย Excel

หน้าหลัก

ให้ทำตามภาพไปทีละขั้นตอน ก็จะได้โปรแกรมตามภาพสุดท้าย

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ !!















Tips ประจำบท

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

Tips 1 การปิด Task pane

Task pane คือหน้าต่างสำหรับควบคุมงานที่ปรากฏขึ้นในบางกรณีเท่านั้น เช่น การเปิดไฟล์ การแทรกภาพลงในชีท เป็นต้น หากต้องการปิดมัน เพื่อที่จะมีพื้นที่ทำงานมากขึ้นก็สามารถทำได้ ตามภาพ














Tips 2 การกรอกสูตรยาว ๆ ควรทำที่แถบสูตร (Formula bar) โดยตรง

แถบสูตรใช้ในการแสดงข้อมูลจริง ๆ ของเซลล์ และสามารถจะช่วยให้คุณกรอกข้อมูลหรือสูตรยาว ๆ ได้ ดีกว่าการกรอกที่เซลล์ตรง ๆ ดังนั้นคุณสามารถเปลี่ยนมามองที่แถบสูตรเพื่อทำงานก็ได้เพื่อจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้นในบางกรณี













!! ก่อนจะคำณวนต้องกรอกเครื่ิองหมายเท่ากับ (=) ทุกครั้ง

Tips 3 กรอกตัวเลขแต่ให้มีคุณสมบัติข้อความ

เมื่อเรากรอกข้อความ Excel ก็จะตีความให้ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลข้อความ (Text) ทันที และถ้าเรากรอกตัวเลขลงไป โปรแกรม ก็จะตีความข้ิอมูลนั้นเป็นตัวเลข (Number) ทันที การที่ Excel ต้องมีข้อมูล 2 ชนิดนี้ เนื่องจากข้อมูลที่เป็นตัวเลขจะสามารถนำไปคำณวนได้ แต่ข้อมูลที่เป้นข้อความจะไม่สามารถทำเช่นนันได้ หากว่าเราต้องการกรอกตัวเลขแต่ต้องการให้มีคุณสมบัติเป็นข้อความล่ะ วิธีการง่าย ๆ คือ
กรอกสัญลักษณ์ < ' > ไว้ด้านหน้าตัวเลขนั้น จะทำให้ตัวเลขกลายเป็นข้อความทันที


หากสังเกตุผลลัพธ์ จะพบว่าเซลล์ที่บรรจุข้อความจะแสดงข้อความชิดด้านขวาของเซลล์ แต่เซลล์ที่บรรจุตัวเลขจะแสดงตัวเลขชิดด้านซ้ายของเซลล์ ทำให้สามารถแยกแยะได้ง่ายขึ้น










Tips 4 ยกเลิกการแก้ไขกลางคันด้วยการกดปุ่ม

หากเรากำลังทำการแก้ไขข้อมูลแต่นึกได้ว่าผิดที่ สามารถยกเลิกกลางคันได้โดยการกดปุ่ม จะทำให้ข้อมูลยังอยู่เหมือนเดิม

!! ทุกครั้งที่จะแ้ก้ไขข้อมูลต้องดับเบิ้ลคลิก เท่านั้น หากคลิกที่เซลล์เฉย ๆ จะทำให้ข้อมูลที่พิมพ์ลงไปทับข้อมูลเก่าทำให้ข้อมูลเก่าหายไปทันที

Tips 5 การใช้วันที่แบบปี พ.ศ. ต้องกรอกเลขปีให้ครบทั้งสี่หลัก

หากต้องการกรอกวันที่แบบปี พ.ศ. จะต้องกรอกเลขปีให้ครบทั้งสี่หลัก เพราะถ้ากรอกเพียงสองหลักเช่น กรอก 15/11/50 โปรแกรม Excel จะตีความว่าเรากรอกเป็นปี ค.ศ. 1950 ดังนั้นจะต้องกรอก 15/11/2550 เท่านั้นจึงจะได้ปีตามที่เราต้องการ

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทดลองใช้งาน Excel 2003

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

ช้ Excel ในการคำณวนข้อมูล
จากสมการดังนี้

กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน

ให้ลองใส่ข้อมูลตามรูปภาพ เพื่อคำณวนหากำไร เมื่อทำการใส่ข้อมูลตามภาพที่ 1 แล้ว ให้ทำการกด Enter
จะได้ผลลัพท์ตามรูปที่ 2






















การเลือกเซลล์ที่จะกรอกข้อมูล
เมื่อต้องการย้ายไปกรอกข้อมูลที่เซลล์ใด เราจะใช้วิธีการคลิกที่เซลล์นั้น แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำได้ ดังนี้
เลื่อนไปทาง ซ้าย ขวา บน ล่าง ให้กดปุ่ม ลูกศร ที่ key bord ได้เลย
เลื่อนไปทางขวาครั้งละ 1 ช่อง ใช้ ปุ่ม
เลื่อนไปซ้ายสุดของแถว ให้กดปุ่ม
เลื่อนไปจุดเริ่มต้นของชีท ตำแหน่งเซลล์ A1 กด
เลื่อนไปยังเซลล์ในแถวและคอลัมน์สุดท้ายที่มีข้อมูลอยู่ กด
เลื่อนไปยังหน้าก่อนในชีทเดียวกัน ปุ่ม
เลื่อนไปยังหน้าต่อไปในชีทเดียวกัน กดปุ่ม

การแก้ไขข้อมูลในเซลล์
  1. ดับเบิ้ลคลิกเซลล์ที่ต้องการแก้ไข
  2. คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรกตัวอักษรหรือตัวเลขลงไป
  3. กรอกตัวอักษรหือตัวเลขที่ต้องการแทรก
  4. เมื่อแก้ไขข้อมูลเสร็จให้ทำการ Enter
การกรอกข้อมูลทับข้อมูลเดิม
  1. ในกรณีที่ไม่ต้องการแก้ไขข้อมูลเดิม แต่ต้องการกรอกข้อมูลให้ทับไปเลยให้คลิกที่เซลล์นั้น
  2. กรอกข้อมูลใหม่ทับลงไปแล้วกด Enter จะทำให้ข้อมูลเก่าถูกลบไป และข้อมูลใหม่แทนที่
การล้างข้อมูลในเซลล์
  1. คลิกเซลล์ที่ต้องการล้งข้อมูล
  2. กดปุ่ม Delete ข้อมูลจะหายไปทันที
การกรอกข้อมูลวันที่
ประเภทของข้อมุลใน Excel แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
  1. ข้อความ (Text)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. วันที่ (Date)
วิธีการ คือ
  1. คลิกเพื่อเลือกตำแหน่ง
  2. กรอกวันที่ด้วยรูปแบบ วัน/เดือน/ปี ลองกรอก 14/8/08 ซึ่งหมายถึง วันที่ 14 เดือน สิงหาคม ปี 2008
  3. กดปุ่ม Enter แล้วดูผลลัพท์
แก้ไขความผิดพลาดโดยการย้อนขั้นตอนกลับ (Undo)
  1. คลิกที่ปุ่ม Undo ตามรูปภาพ หรือเลือกเมนู Edit > Undo (แก้ไข > ย้อนกลับ)
  2. จะพบว่างานจะย้อนกลับไปเป็นก่อนที่จะมีการแก้ไขครั้งล่าสุดทันที
รูปที่ 1

การย้อนกลับหลาย ๆ ขั้นตอน
หากต้องการย้อนกลับทีละหลายขั้นตอนให้คลิกที่ปุ่มตามภาพ 2 แล้วเลือกว่าจะย้อนกลับไปให้ถึงขั้นตอนใด ก็จะสามารถย้อนกลับหลาย ๆ ขั้นตอนในทีเดียว

รูปที่ 2

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตำแหน่งอ้างอิงเซลลล์

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ !!

ในชีทที่เราทำงานจะมีลักษณะเป็นตาราง ในแต่ละช่องตารางเรียกว่า "เซลล์" แต่ละเซลล์จะมีชื่อเป็นของตัวเอง ชื่อของเซลล์มาจากการนำชื่อของคอลัมน์และชื่อของเซลล์มารวมกัน เช่น เซลล์ที่อยู่ในคอลัมน์ C และแถวที่ 5 จะมีชื่อเซลล์ว่า C5 และสามารถบอกได้ว่าตำแหน่งของเซลล์คืออะไร โดยการคลิกที่เซลล์นั้น แล้วสังเกตุที่ด้านซ้ายของแถบสูตร จะมีข้อความบอกชื่อเซลล์

ส่วนประกอบของชีท

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ !!!
ชีท เป็นพื้นที่ทำงานของเรา ส่วนประกอบที่ควรรู้จักมีดังนี้
เซลล์ (cell) เป็นช่องสำหรับใส่ข้อมูล ภายในหนึ่งเซลล์จะมีข้อมูลได้เพียงตัวเดียว โดยข้อมูลจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ หรือ สูตรก็ได้
ตำแหน่งกรอกข้อมูล (Cell pointer) เป็นเซลล์ที่มีกรอบเข้มมากกว่าเซลล์อื่น เป็นตำแหน่งที่ถ้าเราคีย์ข้อมูลอะไรลงไปจะปรากฏที่เซลล์นี้
คอลัมน์ (Column) คือ ช่องข้อมูลที่เรียงอยู่ทางแนวตั้งมีทั้งหมด 256 คอลัมน์
หัวคอลัมน์ (Column Heading) คือชื่อแทนช่องข้อมูลที่อยู่ในแนวตั้ง จะมีชื่อตั้งแต่ A B C ...Z แล้วต่อด้วย AA AB AC ........IV และสามารถเปลี่ยนเป็นตัวเลขได้ คือ ตั้งแต่ 1 - 256
แถว (Row) คือช่องข้อมูลที่เรียงอยู่ทางแนวนอน มีทั้งหมด 65,536 แถว
หัวแถว (Row Heading) คือช่องข้อมูลที่อยู่ในแนวนอนเดียวกัน ใช้ตัวเลขแทนชื่อแถว 1- 65,536

ส่วนประกอบของ Excel 2003

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003


คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ !!



แถบชื่อเรื่อง (Title bar) เป็นส่วนแสดงว่าเราใช้โปรแกรม Excel แสดงไฟล์อะไร
ปุ่มควบคุมเมนู (Control button) ใช้ควบคุมขนาดหน้าต่างโปรแกรม เช่น ย่อ ขยาย และปิด
แถบเมนู (Menu bar) เป็นที่รวบรวมคำสั่งการใช้งานทั้งหมด
แถบเครื่องมือ (Tool bar) เป็นการนำเอาคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ มาสร้างเป็นปุ่มเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
แถบสูตร (Formula bar) สำหรับสร้างสูตรคำณวนข้อมูล
ชีท (Sheet) เป็นพื้นที่ทำงานของเรา มีลักษณะเป็นตาราง โดยแต่ละช่องตารางเรียกว่า "เซลล์ (Cell)"
แถบสถานะ (Status bar) ใช้แสดงสภาวะต่าง ๆ ของโปรแกรม เช่น การกดปุ่มพิเศษ และการพิมพ์งานออกทางปริ้นเตอร์ เป็นต้น
ทาสก์แพน (Task pane) คือหน้าต่างที่มีความสามารถจดจำไฟล์ที่เราเคยเปิด และแสดงไฟล์ที่อาจจะเสียเพื่อให้เราเลือกแก้ไขปัญหาได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หน้าหลัก

Basic

Part 1 ความรู้เบื้องต้น
  • รู้จักกับ Excel 2003
  • การแก้ไขชีท (Worksheet)
  • ชีทและสมุดงาน
  • การจัดการไฟล์ของสมุดงาน
  • การตกแต่งเซลล์และชีท
Advanced

Part 2 การคำณวน
  • ความรู้เบื้องต้นในการคำณวน
  • ฟังก์ชันพื้นฐานใน Excel 2003
  • ฟังก์ชันใช้งานที่ควรรู้จัก
  • เทคนิคในการคำณวนและการแก้ปัญหา
Part 3 แผนภูมิ
  • การสร้างแผนภูมิ (Chart)
  • การแก้ไขแผนภูมิ
  • การใส่ภาพลงในชีท
Part 4 การจัดการข้อมูลปริมาณมาก ๆ และการรักษาความลับข้อมูล
  • การใช้ไฟล์ร่วมกันกับผู้อื่นและการรักษาความลับ
  • การดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลและอินเตอร์เน็ต
  • การใช้ Excel จัดการกับข้อมูลจำนวนมาก
  • การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Excel 2003
  • การพิมพ์และการปรับแต่งการพิมพ์ (Printer)
Part 5 การทำงานอัตโนมัติ
  • การสร้างเวปเพจจากไฟล์ Excel
  • การสร้างมาโคร (Macro)
  • การเขียนโปรแกรม VBA
  • การสร้างแบบฟอร์มป้อนข้อมูล
Part 6 สิ่งที่เพิ่มมาจากรุ่นก่อน
  • คุณสมบัติใหม่ของ Excel 2003
  • ปุ่มลัด
  • รายละเอียดการใช้งานส่วนสำคัญ
Part 7 Tips

รู้จักกับ Excel 2003

หน้าหลัก


คิดว่าทุกคนคงจะู้รู้จักกันเป็นอย่างดีกับเจ้า โปรแกรมคำณวนสุดยอดตัวนี้ ดังนั้น คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากมายเกี่ี่ยวกับที่มาและที่ไปของมัน คงจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีใช้มากกว่า
โปรแกรม Excel เป็นหนึ่งในโปรแกรมหลักของโปรแกรมชุด Microsoft Office 2003 ซึ่งประกอบไปด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ Word,PowerPoint,Outlook,Excel,Access
โปรแกรม Excel นี้ เรียกว่าโปรแกรมประ้้เภท "สเปรดชีท (Spreadsheet)" ถ้าพูดถึงเรื่องของการคำณวนและจัดเก็บข้อมูลในเครื่องคอม ฯ คงไม่มีโปรแกรมไหนได้รับความนิยมเท่า Excel ที่สามารถช่วยให้คุณคำณวนและค้นหาข้อมูลได้เป็นระเบียบ รวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ