วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไขชีท (Worksheet)

หน้าหลัก

ชีท คือ พื้นที่ทำงานที่เราจะกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป

การเลือกเซลล์
การยกเลิกการเลือก
การล้างข้อมูลในเซลล์ที่เลือกไว้
แถวและคอลัมน์
การก๊อปปี้และย้ายข้อมูล

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สร้างโปรแกรมคำณวนวันลาพักร้อนด้วย Excel

หน้าหลัก

ให้ทำตามภาพไปทีละขั้นตอน ก็จะได้โปรแกรมตามภาพสุดท้าย

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ !!















Tips ประจำบท

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

Tips 1 การปิด Task pane

Task pane คือหน้าต่างสำหรับควบคุมงานที่ปรากฏขึ้นในบางกรณีเท่านั้น เช่น การเปิดไฟล์ การแทรกภาพลงในชีท เป็นต้น หากต้องการปิดมัน เพื่อที่จะมีพื้นที่ทำงานมากขึ้นก็สามารถทำได้ ตามภาพ














Tips 2 การกรอกสูตรยาว ๆ ควรทำที่แถบสูตร (Formula bar) โดยตรง

แถบสูตรใช้ในการแสดงข้อมูลจริง ๆ ของเซลล์ และสามารถจะช่วยให้คุณกรอกข้อมูลหรือสูตรยาว ๆ ได้ ดีกว่าการกรอกที่เซลล์ตรง ๆ ดังนั้นคุณสามารถเปลี่ยนมามองที่แถบสูตรเพื่อทำงานก็ได้เพื่อจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้นในบางกรณี













!! ก่อนจะคำณวนต้องกรอกเครื่ิองหมายเท่ากับ (=) ทุกครั้ง

Tips 3 กรอกตัวเลขแต่ให้มีคุณสมบัติข้อความ

เมื่อเรากรอกข้อความ Excel ก็จะตีความให้ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลข้อความ (Text) ทันที และถ้าเรากรอกตัวเลขลงไป โปรแกรม ก็จะตีความข้ิอมูลนั้นเป็นตัวเลข (Number) ทันที การที่ Excel ต้องมีข้อมูล 2 ชนิดนี้ เนื่องจากข้อมูลที่เป็นตัวเลขจะสามารถนำไปคำณวนได้ แต่ข้อมูลที่เป้นข้อความจะไม่สามารถทำเช่นนันได้ หากว่าเราต้องการกรอกตัวเลขแต่ต้องการให้มีคุณสมบัติเป็นข้อความล่ะ วิธีการง่าย ๆ คือ
กรอกสัญลักษณ์ < ' > ไว้ด้านหน้าตัวเลขนั้น จะทำให้ตัวเลขกลายเป็นข้อความทันที


หากสังเกตุผลลัพธ์ จะพบว่าเซลล์ที่บรรจุข้อความจะแสดงข้อความชิดด้านขวาของเซลล์ แต่เซลล์ที่บรรจุตัวเลขจะแสดงตัวเลขชิดด้านซ้ายของเซลล์ ทำให้สามารถแยกแยะได้ง่ายขึ้น










Tips 4 ยกเลิกการแก้ไขกลางคันด้วยการกดปุ่ม

หากเรากำลังทำการแก้ไขข้อมูลแต่นึกได้ว่าผิดที่ สามารถยกเลิกกลางคันได้โดยการกดปุ่ม จะทำให้ข้อมูลยังอยู่เหมือนเดิม

!! ทุกครั้งที่จะแ้ก้ไขข้อมูลต้องดับเบิ้ลคลิก เท่านั้น หากคลิกที่เซลล์เฉย ๆ จะทำให้ข้อมูลที่พิมพ์ลงไปทับข้อมูลเก่าทำให้ข้อมูลเก่าหายไปทันที

Tips 5 การใช้วันที่แบบปี พ.ศ. ต้องกรอกเลขปีให้ครบทั้งสี่หลัก

หากต้องการกรอกวันที่แบบปี พ.ศ. จะต้องกรอกเลขปีให้ครบทั้งสี่หลัก เพราะถ้ากรอกเพียงสองหลักเช่น กรอก 15/11/50 โปรแกรม Excel จะตีความว่าเรากรอกเป็นปี ค.ศ. 1950 ดังนั้นจะต้องกรอก 15/11/2550 เท่านั้นจึงจะได้ปีตามที่เราต้องการ

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทดลองใช้งาน Excel 2003

หน้าหลัก
รู้จักกับ Excel 2003

ช้ Excel ในการคำณวนข้อมูล
จากสมการดังนี้

กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน

ให้ลองใส่ข้อมูลตามรูปภาพ เพื่อคำณวนหากำไร เมื่อทำการใส่ข้อมูลตามภาพที่ 1 แล้ว ให้ทำการกด Enter
จะได้ผลลัพท์ตามรูปที่ 2






















การเลือกเซลล์ที่จะกรอกข้อมูล
เมื่อต้องการย้ายไปกรอกข้อมูลที่เซลล์ใด เราจะใช้วิธีการคลิกที่เซลล์นั้น แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำได้ ดังนี้
เลื่อนไปทาง ซ้าย ขวา บน ล่าง ให้กดปุ่ม ลูกศร ที่ key bord ได้เลย
เลื่อนไปทางขวาครั้งละ 1 ช่อง ใช้ ปุ่ม
เลื่อนไปซ้ายสุดของแถว ให้กดปุ่ม
เลื่อนไปจุดเริ่มต้นของชีท ตำแหน่งเซลล์ A1 กด
เลื่อนไปยังเซลล์ในแถวและคอลัมน์สุดท้ายที่มีข้อมูลอยู่ กด
เลื่อนไปยังหน้าก่อนในชีทเดียวกัน ปุ่ม
เลื่อนไปยังหน้าต่อไปในชีทเดียวกัน กดปุ่ม

การแก้ไขข้อมูลในเซลล์
  1. ดับเบิ้ลคลิกเซลล์ที่ต้องการแก้ไข
  2. คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรกตัวอักษรหรือตัวเลขลงไป
  3. กรอกตัวอักษรหือตัวเลขที่ต้องการแทรก
  4. เมื่อแก้ไขข้อมูลเสร็จให้ทำการ Enter
การกรอกข้อมูลทับข้อมูลเดิม
  1. ในกรณีที่ไม่ต้องการแก้ไขข้อมูลเดิม แต่ต้องการกรอกข้อมูลให้ทับไปเลยให้คลิกที่เซลล์นั้น
  2. กรอกข้อมูลใหม่ทับลงไปแล้วกด Enter จะทำให้ข้อมูลเก่าถูกลบไป และข้อมูลใหม่แทนที่
การล้างข้อมูลในเซลล์
  1. คลิกเซลล์ที่ต้องการล้งข้อมูล
  2. กดปุ่ม Delete ข้อมูลจะหายไปทันที
การกรอกข้อมูลวันที่
ประเภทของข้อมุลใน Excel แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
  1. ข้อความ (Text)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. วันที่ (Date)
วิธีการ คือ
  1. คลิกเพื่อเลือกตำแหน่ง
  2. กรอกวันที่ด้วยรูปแบบ วัน/เดือน/ปี ลองกรอก 14/8/08 ซึ่งหมายถึง วันที่ 14 เดือน สิงหาคม ปี 2008
  3. กดปุ่ม Enter แล้วดูผลลัพท์
แก้ไขความผิดพลาดโดยการย้อนขั้นตอนกลับ (Undo)
  1. คลิกที่ปุ่ม Undo ตามรูปภาพ หรือเลือกเมนู Edit > Undo (แก้ไข > ย้อนกลับ)
  2. จะพบว่างานจะย้อนกลับไปเป็นก่อนที่จะมีการแก้ไขครั้งล่าสุดทันที
รูปที่ 1

การย้อนกลับหลาย ๆ ขั้นตอน
หากต้องการย้อนกลับทีละหลายขั้นตอนให้คลิกที่ปุ่มตามภาพ 2 แล้วเลือกว่าจะย้อนกลับไปให้ถึงขั้นตอนใด ก็จะสามารถย้อนกลับหลาย ๆ ขั้นตอนในทีเดียว

รูปที่ 2